วันจันทร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2556

IT VS. Marketing for Education

จากการอ่านบทความ "Marketing 3.0 for Education"
Information Techonology จะมีผลต่อการเรื่อง Marketing for Education ในอนาคตอย่างไรบ้าง
ทำความรู้จักกับ  การตลาด 3.0 ( marketing 3.0 )
การตลาด 3.0 คืออะไร ?
          ยุค 3.0 เป็นยุคที่การตลาดเน้นการขับเคลื่อนด้วยค่านิยม (The Values-Driven Era) ไม่ได้มองผู้บริโภคแบบที่เป็นเป้านิ่งให้ถาโถมสื่อการตลาด แต่มองในฐานะมนุษย์ที่มีความคิด จิตใจ และจิตวิญญาณ ทั้งนี้ตัวผู้บริโภคไม่เพียงเป็นฝ่ายตั้งรับในการรับสื่อสารทางการตลาด แต่สามารถแสดงออกถึงความคิดเห็น (Two-Way Communication) ของตนตลอดจนมีส่วนร่วมไม้ร่วมมือด้วยจิตอาสาในการพัฒนาสินค้าหรือบริการให้ตอบสนองความต้องการของตนให้ดียิ่งขึ้น
       การตลาด 3.0 คือยุค 3G ที่กระแสการใช้ Social Networking นั้นแพร่หลายเป็นปรากฎการณ์ เราใช้โทรศัพท์มือถือเพื่อแช๊ต โหลดแอพ เล่นเกมส์ เช็คอีเมล์และเข้าถึงอินเทอร์เน็ตมากกว่าใช้พูดคุยกันตามปกติเสียอีก การตลาดยุคนี้จึงเป็นยุคสังคมนิยม ไม่ได้หมายถึงระบบการปกครอง แต่เป็นการรวมกลุ่มสร้างชุมชนเพื่อให้เกิดยอมรับในแวดวงสังคม
ผู้บริโภคยุคนี้เอาใจยากเพราะเขาไม่ได้ต้องการแค่ซื้อสินค้าที่มีวางขายทั่วไป แต่เขาต้องการมีส่วนร่วม และรู้สึกว่าการบริโภคสินค้านั้นๆ มันแสดงออกถึงความเป็นตัวตนที่แท้จริงของเขา
โดยเน้นความสัมพันธ์กับมนุษย์ (Human Centricity) เกิดจากเทคโนโลยีคลื่นลูกใหม่  โดยเทคโนโลยีคลื่นลูกใหม่ ประกอบด้วยแรงขับ 3 ประการ คือ
แรงขับที่ 1 คอมพิวเตอร์กับโทรศัพท์มือถือราคาถูก
แรงขับที่
2 อินเตอร์เน็ทที่ราคาต่ำลง
แรงขับที่
3 Open Source
Information Techonology จะมีผลต่อการเรื่อง Marketing for Education ในอนาคตอย่างไรบ้าง ?
 ปัจจุบัน เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้เข้ามามีบทบาทที่สำคัญในการดำเนินชีวิตของเรา มีการนำเอาเทคโนโลยีต่างๆมาใช้กันอย่างแพร่หลาย ทั้งในวงการธุรกิจ และการศึกษา ความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ทำให้สังคมเปลี่ยนแปลงไป จนบางครั้งคนในสังคมติดตามแทบไม่ทันกับการเปลี่ยนแปลง
    ในการจัดการศึกษาของไทย ก็เช่นกัน ต้องมีการพัฒนา ปรับเปลี่ยนให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเทคโนโลยี เพื่อให้พร้อมที่จะก้าวเข้าสู่สังคมแห่งปัญญา และโลกแห่งการเรียนรู้อย่างแท้จริง ดังนั้น แนวคิดในการนำกระบวนการเรียนรู้ผ่านการสื่อสาร ออนไลน์ด้วยรูปแบบต่างๆ จึงเกิดขึ้น ด้วยการนำเอาแนวคิด Social Media มาประยุกต์ใช้สำหรับจัดการเรียนการสอน ในรูปแบบต่างๆ เช่น การสื่อสารองค์ความรู้ เนื้อหาสาระวิชาการ บทความ วีดิโอ รูปภาพ และ เสียง ส่งผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไปยังผู้เรียน ซึ่งนับว่าเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญ ของการปรับการเรียนเปลี่ยนการสอน ทำให้เกิดการเรียนรู้ในโลกออนไลน์ ที่ไม่จำกัดเฉพาะในชั้นเรียน โดยที่ทั้งครูและนักเรียน สามารถแชร์เนื้อหา องค์ความรู้ ข้อมูล ภาพ และเสียง ผ่านเครื่องมือออนไลน์ต่างๆ เกิดเป็นสื่อสังคมระหว่างครูกับนักเรียน ที่จะเรียนรู้ไปด้วยกันพร้อมๆกัน เกิดการเรียนรู้แบบ Realtime

ตัวอย่างการประยุกต์ใช้ Information Tecnology (IT) ในด้าน Marketing for Education
           ตัวอย่างที่แสดงถึงการเจริญเติบโตของเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่มีผลต่อเรื่อง
Marketing for Education เช่น โครงการ ก้าวใหม่ของครูไทย ก้าวไกลด้วย Social Media” ของ สพฐ (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน) ในปี2553 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยสำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน (สทร.)
ได้จัดการอบรมส่งเสริมให้ครูใช้
Social Media ในการจัดการเรียนการรู้ โดยจัดอบรมให้ความรู้ความเข้าใจ พ้อมกับฝึกปฎิบัติในการใช้เครื่องมือที่มีในสื่อสังคมออนไลน์ ให้แก่ครูทั่วประเทศ โดย สทร.ได้เปิดให้ครูที่สนใจสมัครเข้าอบรม แล้วคัดเลือก เหลือจำนวน 200 คน ซึ่งหลังจากเสร็จสิ้นการอบรม พบว่าครูสามารถสร้างผลงาน ที่เกิดจากการใช้เครื่องมือ ออนไลน์ขยายเป็นเครือข่ายใน Social Media และนำไปประยุกต์ใช้จัดการเรียนรู้ในห้องเรียนได้อย่างหลากหลาย ทำให้เกิดเป็นความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ระหว่างครูกับครู ครูกับนักเรียน และนักเรียนกับนักเรียน

          Social Media สามารถตอบโจทย์ให้แก่ผู้บริหาร และนักการศึกษา ที่ต้องการแก้ปัญหาในชั้นเรียนด้านต่างๆ เช่น การไม่เข้าใจเนื้อหาที่เรียนในชั้นเรียน การคิดวิเคราะห์ การสืบค้น การค้นหาองค์ความรู้ การปฎิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน ฯลฯ จึงนับว่า เป็น ก้าวใหม่ของครูไทย ก้าวไกลด้วย Social Media”
           สำหรับปี 2554 นี้ สทร.จัดการอบรมส่งเสริมให้ครูใช้ Social Media ในการจัดการเรียนการรู้ ให้ครูอีก 200 คน ในวันที่ 20 -24 มิถุนายน 2554 ที่โรงแรม Maxx ถ.พระราม9 กรุงเทพฯ ให้ครูสามารถใช้เครื่องมือออนไลน์ต่างๆเป็น เช่น WordPress(บล็อก) Facebook(เครื่องมือติดต่อสื่อสารอย่างทันทีและรวดเร็ว Twitter(microblog) Picasa (การแชร์ภาพ) Youtube(แชร์วิดีโอ)Slideshare(สไลด์แชร์) ซึ่งครูจะนำวิธีการเหล่านี้ไปปรับประยุกต์ใช้จัดการเรียนรู้
จัดทำบล็อก ทำสไลด์ ทำวิดีโอคลิป เป็นต้น

            สิ่งที่ สทร. คาดหวังจากครูที่มาอบรม คือครูต้องนำความรู้ที่ได้ไปใช้ให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม นำพานักเรียนเข้าสู่องค์ความรู้ในรูปแบบต่างๆ ด้วยการนำเสนอเนื้อหาผ่านบล็อก ของครูที่สร้างจากเว็บไซด์ WordPress.com และเครื่องมือออนไลน์ต่างๆ Facebook Twitter (microblog) Picasa และYoutube ที่สำคัญครูต้องสามารถสร้างรูปแบบการสอนผ่านบล็อก จัดกิจกรรมให้นักเรียน เรียนผ่านออนไลน์ได้ ดังนั้นโจทย์ที่ท้าทายสำหรับครูก็คือ จะนำเครื่องมือ Social Media ต่างๆไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างไรด้วยวิธีการของตัวเอง ซึ่งอาจแตกต่างกันไปตามวิชาที่สอน บริบทของโรงเรียน และความสามารถของครูแต่ละท่าน
            สทร. ได้เสนอเครื่องมือของสื่อสังคมเพื่อนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ ดังนี้
- WordPress.com เป็นเว็บล็อก หรือบล็อก สร้างเป็นบล็อกกลางสำหรับแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเป็นสื่อกลางในการแจ้งข่าวสาร
- Facebook.com ทำหน้าที่เป็นกระดานข่าว คล้ายๆ กับ hi5 ครูและนักเรียนสามารถสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลได้ที่นี่เช่นกัน
- Twitter.com ใช้ในการสื่อสารข้อความสันๆ ไม่เกิน 140 ตัวอักษร ทำหน้าที่คล้าย SMS สามารถ โต้ตอบกันได้อย่างรวดเร็ว
- Slideshare.net ใช้ในการแบ่งบันสไลด์ ในกรณีทีคุณครูสร้างสไลด์เป็นสื่อในการจัดการเรียนการสอนสามารถนำไปฝากไว้ แล้วให้นักเรียนไปดาวน์โหลดมาชมหลังจากเรียนเสร็จแล้วก็ได้
- Flickr.com ใช้ ในการแบ่งปันไฟล์ภาพ
- Scribd.com ใช้ในการแบ่งปันไฟล์เอกสาร เช่น ใบความรู้ ใบงาน แบบฝึก
- youtube.com ใช้ ในการแบ่งปันไฟล์วีดีทัศน์ คุณครูสามารถเลือกใช้เครื่องมือเหล่านี้ได้ตามความเหมาะสม
        บทบาทต่อการจัดการในชั้นเรียนด้วยลักษณะสำคัญ คือ การมีปฏิสัมพันธ์ของคนในระบบเครือข่าย จึงไม่ใช่เรืองแปลกนักที่เมื่อมีปริมาณจำนวนคนในเครือข่ายจะนำไปสู่การสร้างความเปลี่ยนแปลงสำคัญๆให้เกิดขึ้นในสังคมจริงได้ ด้วยข้อมูลจำนวนมากที่ถูกนำเสนอในเครือข่ายสังคมออนไลน์ หากนำมาสู่การจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนย่อมก่อให้เกิดผลสำคัญในหลากหลายลักษณะเช่นกัน สามารถจำแนกลักษณะที่ถูกนำเสนอผ่านทาง Social media สามารถสรุปได้ดังนี้ คือ
1.    การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลหรือภายในเครือข่าย โดยผู้ใช้สร้างโปรไฟล์ของตนเอง และมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน เช่น Facebook
2.       การเผยแพร่ความรู้ความเชี่ยวชาญ ซึ่งจะอยู่ในลักษณะของเว็บบล็อกต่างๆ
3.       การเผยแพร่ข้อความสั้น เช่น twitter เป็นต้น
4.       การเพิ่มเติมข้อมูลความรู้ต่างๆ เช่น เว็บ Wikipedia
5.       การเผยแพร่เนื้อหาเฉพาะ การเผยแพร่ภาพ เสียง วิดีโอ เช่น เว็บ youtube , Flickr เป็นต้น

ด้วยข้อมูลจำนวนมากที่ถูกนำเสนอในเครือข่ายสังคมออนไลน์ หากนำมาสู่การจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนย่อมก่อให้เกิดผลสำคัญในหลากหลายลักษณะเช่นกัน เช่น
  1. การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสังคมในชั้นห้องเรียน เนื่องจากบรรยากาศของเครือข่ายสังคมออนไลน์เป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารผ่านภายมิติความสัมพันธ์ของคนในเครือข่าย ด้วยเหตุนี้เมื่อทั้งผู้สอนและผู้เรียนเข้าสู่การสร้างความสัมพันธ์ภายในระบบเครือข่าย สังคมออนไลน์ก็จะนำไปสู่การพัฒนาความสัมพันธ์ในสังคมจริงในทิศทางที่ใกล้ชิดกันยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นผลให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพจริง นอกจากนี้ลักษณะการนำเสนอข้อมูล สถานภาพที่เป็นปัจจุบัน ทำให้ทั้งผู้สอนสามารถติดตามพฤติกรรมและประสานข้อมูลได้อย่างทันท่วงที
  2. การกระตุ้นให้เกิดการศึกษาค้นคว้า การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่กว้างขวาง การตั้งประเด็นแลกเปลี่ยน ข้อสงสัยต่างๆ ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ทำได้อย่างทันท่วงที และเป็นเครื่องมือสำหรับผู้สอนในการกระตุ้นผู้เรียนได้เป็นอย่างดี
    ในขณะเดียวกันผู้สอนสามารถนำเสนอเนื้อหาใหม่ๆ ได้อย่างต่อเนื่องและผู้เรียนสามารถติดตามได้อย่างต่อเนื่อง
  3. การส่งเสริมการศึกษาตามความสนใจและความถนัด เครือข่ายสังคมออนไลน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรูปแบบของเว็บบล็อก เป็นระบบที่ส่งเสริมการเผยแพร่ผลงานตามความถนัดและความสนใจของทั้งผู้สอนและผู้เรียน อีกทั้งยังส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนขยายผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  4. การส่งเสริมการบันทึกและการอ่าน การเผยแพร่ผ่านเครือข่ายสังคอมออนไลน์ส่วนใหญ่ผ่านรูปแบบของข้อเขียนในหลายลักษณะ เช่น ข้อความสั้นในระบบ twitter ข้อความปานกลางของเว็บ facebook หรือข้อความยาวๆ ของระบบเว็บบล็อก เป็นต้น

ข้อดีของการประยุกต์ใช้ IT กับการศึกษา
  1. ครูและนักเรียนสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ร่วมกันได้ทันที
  2. เป็นคลังข้อมูลความรู้ขนาดย่อมเพราะเราสามารถเสนอและแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนความรู้ หรือตั้งคำถาม ในเรื่องต่างๆ เพื่อให้บุคคลอื่นที่สนใจหรือมีคำตอบได้ช่วยกันตอบ
  3. ช่วยเรื่องการสื่อสารให้มีประสิทธิภาพ สื่อสารได้ในวงกว้าง ได้หลายรูปแบบ เช่นข้อความ รูปภาพ วิดีโอ
  4. เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้รวดเร็ว และเป็นช่องทางการสื่อสารได้ตลอดเวลา
  5. Facebook เป็นสื่อกลางในการให้การบ้าน สั่งงานกับนักเรียน หรือการส่งงานเพื่อให้การเรียนการสอนมีความน่าสนใจและสะดวกมากขึ้น
  6. ทำให้เกิดการเรียนการสอนที่แปลกใหม่ ผู้เรียนก็จะได้สนุกสนานในการเรียน ได้ทั้งความรู้จากวิชาที่เรียนและได้เรียนรู้จากการใช้คอมพิวเตอร์
  7.  ใช้เป็นสื่อในการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ หรือบริการลูกค้าสำหรับบริษัทและองค์กรต่างๆ ช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้ลูกค้า และสามารถขยายเขตข้อมูลได้รวดเร็ว
  8. สร้างความสัมพันธ์ที่ดีจากเพื่อนสู่เพื่อน ครอบครัวได้

ข้อเสียของการประยุกต์ใช้ IT กับการศึกษา
  1. การใช้งานเพื่อความบันเทิง เกม มากกว่าการศึกษาค้นคว้า ทั้งนี้ระบบเครือข่ายสังคมออนไลน์ เช่น facebook จะประกอบด้วย เกมต่างๆมากมาย และส่วนใหญ่ต้องการใช้เวลาในการเล่นต่อเนื่อง ทำให้เสียเวลา
  2. ความจำเป็นของอุปกรณ์สื่อสาร ส่วนใหญ่มีราคาแพง และมีค่าใช้จ่ายที่ต่อเนื่อง และหากผู้สอนใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ในการนำเสนอข้อมูลไปยังผู้เรียนเป็นหลัก อาจทำให้ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลของผู้เรียนได้
  3. การรับข้อมูลที่ไม่ถูกต้องและขาดวิจารณญาณ
  4. การขาดวิจารณญาณในการนำเสนอข้อมูล เนื้อหาของผู้เรียน ด้วยความสะดวก รวดเร็วในการเผยแพร่ข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายสังคมออนไลน์ จะพบว่า หลายครั้งทำให้หลายคนขาดความยั้งคิดในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ภาพหรือเหตุการณ์ต่างๆ อาจถูกผู้ไม่หวังดีนำมาใช้ในทางเสียหาย หรือละเมิดสิทธิส่วนบุคคลได้
  5. เป็นช่องทางในการถูกละเมิดลิขสิทธิ์ ขโมยผลงาน หรือถูกแอบอ้าง เพราะ Social Network Service เป็นสื่อในการเผยแพร่ผลงาน รูปภาพต่างๆ ของเราให้บุคคลอื่นได้ดูและแสดงความคิดเห็น
  6. ข้อมูลที่ต้องกรอกเพื่อสมัครสมาชิกและแสดงบนเว็บไซต์ในรูปแบบ Social Network ยากแก่การตรวจสอบว่าจริงหรือไม่ ดังนั้นอาจเกิดปัญหาเกี่ยวกับเว็บไซต์ที่กำหนดอายุการสมัครสมาชิก หรือการถูกหลอกโดยบุคคลที่ไม่มีตัวตนได้
  7. ผู้ใช้ที่เล่น social  media และอยู่กับหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานอาจสายตาเสียได้หรือบางคนอาจตาบอดได้ 
  8. ถ้าผู้ใช้หมกหมุ่นอยู่กับ social  media มากเกินไปอาจทำให้เสียการเรียนหรือผลการเรียนตกต่ำลงได้
  9. จะทำให้เสียเวลาถ้าผู้ใช้ใช้อย่างไร้ประโยชน์



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น